top of page
202721888_10159183384077225_4536093313504658944_n_edited.png

รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

คณะเศรษฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Phone:

0814443944 

Email:

Address:

ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 18 

อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา ถ.พญาไท ปทุมวัน กทม. 10330

  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • YouTube
  • TikTok

รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท Master of Art in International Economics and Finance จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปเรียนและจบการศึกษาระดับปริญญาเอก PhD in Economics and Commerce จาก The University of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย และได้รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ประเภทดาวรุ่ง ประจำปี 2562

ปี 2564 ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นประเภทผลงานวิชาการ จาก หลักสูตรนักยุทธศาสตร์ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ วถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และเป็นนักยุทธศาสตร์ รุ่นที่ 14 ก่อนที่จะได้รับทุนการศึกษาไปเป็นนักวิชาการแลกเปลี่ยน Dongfang Scholars ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม เป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ควบคู่กับงานสอนหนังสือ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ทำงานวิจัยมากกว่า 65 หัวเรื่อง และเขียนหนังสือ (Books & Book Chapters 11 เล่ม) ในรูปแบบสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) ที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน และคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) โดยเฉพาะ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ โดยงานวิจัยสำคัญๆ อาทิ Thailand at the Frontier of Upper Middle Income, Human Resource Landscape in Mainland ASEAN, Unlocking Region of India: an ASEAN Connectivity Perspective, Global Uncerntainties: Implications for the ASEAN Community, โครงการพัฒนานโยบายเพื่อการขยายผลการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและ การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาจากกรอบเขตการค้าเสรี BIMSTEC ของประเทศไทย, From Trust Crisis to Demand Driven International Trade Policy: A Case Study of India, Myanmar and Thailand, Thailand and India as a Partnership of Sustainable Development in Mainland ASEAN, โอกาสการค้าการลงทุนภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย - อินเดีย และอาเซียน – อินเดีย: ศึกษาเจาะลึกเป็นรายรัฐ ฯลฯ 

สำหรับงานบริการวิชาการ รศ.ดร. ปิติ บรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับ อาเซียนศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อาเซียน และประเทศคู่เจรจา ให้กับหลากหลายหน่วยงานทั้งภาคเอกชน สถาบันการเงิน หน่วยงานราชการ กองทัพ และองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ The101.world และ The Standard ควบคู่กับการจัดรายการวิทยุให้กับสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.50 MHz, วิทยุศึกษา FM 92.0 MHz และ สถานีวิทยุ อสมท. FM 100.50 MHz 

246026483_10159394973222225_8453967951677172592_n.jpeg
240597401_10159368581912225_7508178902194808219_n.jpeg
83716494_10157830866567225_6509406804085047296_n.jpeg

ผู้นำที่ดีต้อง "ฉลาด" 
1.ฉลาดรู้ว่า ตนเองยังไม่รู้เรื่องใด ตนเองยังไม่เข้าใจเรื่องใด ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ดังนั้นผู้นำที่ดีจึง ถ่อมตน
2. ฉลาดที่จะรู้ว่า ในเรื่องที่ตนไม่มีความรู้ ต้องไปปรึกษาผู้รู้ท่านใด ดังนั้น ผู้นำที่ดีจึง รู้จักใช้คน
3. ฉลาดที่จะคิดในแง่บวก สามารถสื่อสารกับทุกคนได้ และรู้จักรถนอมน้ำใจคน ดังนั้น ผู้นำที่ดีจึงต้องมี ความฉลาดทางอารมณ์
4. ผู้นำที่ดีต้องยึดหลักการที่ถูกต้อง มีวินัย และกล้าตัดสินใจบนหลักการนั้น เพื่อสร้างศรัทธาให้ผู้ตาม ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องมีศีลธรรม

ผู้นำที่ดีต้องฉลาด มีศึลธรรม ยึดหลักการที่ถูกต้อง แต่ถ่อมตน และรู้จักใช้คน

Let's Get

Social

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram
bottom of page